วันศุกร์ที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2558

แหล่งเรียนรู้พันธุ์ไม้ในประเทศไทย

มีดังนี้
           1. หอพรรณไม้ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
ความเป็นมา
          การเก็บและสำรวจพรรณไม้ของประเทศไทยเริ่มขึ้นในปี พ.ศ. 2449 หลังจากตั้งกรมป่าไม้
ได้ 10 ปี โดยมีนาย  H. B. G. Garrett นักการป่าไม้ชาวอังกฤษเป็นผู้รับผิดชอบ ต่อมาเริ่มมี
เจ้าหน้าที่ของหอพรรณไม้ ออกทำการสำรวจและเก็บตัวอย่างร่วมด้วย จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2473 
หอพรรณไม้ได้จัดตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการเพื่อเก็บรักษาตัวอย่างพรรณไม้ที่ได้จากการสำรวจ 
จนถึงปัจจุบันมีจำนวนตัวอย่างพรรณไม้กว่า 200,000 ชิ้น ซึ่งมากที่สุดในประเทศไทย
 ต่อมาในปี พ.ศ.  2546 มีการปรับโครงสร้างราชการ ทำให้งานกลุ่มพฤกษศาสตร์ป่าไม้โอนย้าย
มาอยู่ในสังกัดกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่า และพันธุ์พืช ตามการแบ่งส่วนราชการใหม่ และได้รับ
การปรับสถานะจากกลุ่มงานพฤกษศาสตร์ป่าไม้ เป็นสำนักหอพรรณไม้ ตามคำสั่งกรมอุทยาน
แห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ลงวันที่ 22 เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2548 และในปัจจุบันได้
เปลี่ยนชื่อเป็นสำนักงานหอพรรณไม้ ภายใต้สังกัดสำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช 
เมื่อวันที่ 5 มกราคม 2550 ด้วยสำนักงานหอพรรณไม้ เป็นหอพรรณไม้ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย 
มีสวนพฤกษศาสตร์และสวนรุกขชาติในสังกัดอีก 71 แห่ง มีหน้าที่สำรวจและเก็บรวบรวมพรรณไม้
ในท้องถิ่นต่างๆ ทั่วประเทศ ไว้ในรูปแบบต่างๆ อย่างเป็นระบบสากล เช่น พรรณไม้แห้ง 
พรรณไม้ดอง พรรณไม้ต้นแบบ และตัวอย่างส่วนต่างๆ ของพรรณไม้ พร้อมจัดทำฐานข้อมูล
ไว้สืบค้น เพื่อให้เป็นแหล่งเรียนรู้ บริการและแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านพรรณพืชทั้งในประเทศ
และต่างประเทศ เป็นหน่วยงานที่สร้างคุณประโยชน์ให้แก่ประเทศในด้านการอนุรักษ์ทรัพยากร
ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การศึกษาวิจัย บริการวิชาการ และนันทนาการ จึงได้รับการคัดเลือก
ให้เป็นหน่วยงานดีเด่นของชาติ สาขาอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ประจำพุทธศักราช 2550 โดยคณะอนุกรรมการคัดเลือกและเผยแพร่ผลงานดีเด่นของชาติ ในคณะกรรมการเอกลักษณ์
ของชาติ สำนักงานเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี นอกจากนี้ 
ในปี พ.ศ. 2555 ในส่วนของตัวหอพรรณไม้ ยังได้รับการยกย่องว่าเป็นแหล่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตต้นแบบ รุ่นที่ 2 ของสำนักเลขาธิการสภาการศึกษา





          

          2.สยามกรีนสกายหรือสวนเกษตรลอยฟ้ากลางสยามสแควร์
          “สยามกรีนสกาย” ถูกเนรมิตขึ้นมาให้กลายเป็นหลังคาเขียวใจกลางเมืองบนชั้น 7 อาคารสยามสแควร์วันที่มุ่งหวังจะเป็นทั้งที่พักผ่อนหย่อนใจ บรรเทาปัญหาปรากฎการณ์เกาะร้อนในเมือง 
หรือเพียงสร้างพื้นที่ผลิตอาหารบนหลังคาเท่านั้น แต่สถานที่แห่งนี้กำลังจะเป็นแหล่งเรียนรู้
เกี่ยวกับเกษตรกรรมเมืองและเป็นเสมือนสถานที่เล็กๆที่จะจุดประกายให้คนเมืองหันมาสนใจ
การปลูกผักกินเองได้บ้างเมื่อเร็วๆ นี้ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดตัวศูนย์เรียนรู้เกษตรกรรมเมือง 
ที่ชื่อว่า สยามกรีนสกาย ซึ่งถือเป็นสวนลอยฟ้าที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทยขึ้น ณ ลานเชื่อม
ต่อบีทีเอส สยามสแควร์วัน กรุงเทพฯ รองศาสตราจารย์ นาวาอากาศเอก นายแพทย์เพิ่มยศ โกศลพันธุ์ รองอธิการบดี จุฬาฯบอกเล่าถึงที่มาที่ไปของโครงการสยามกรีนสกาย ให้ฟังว่า สยามกรีนสกาย 
เกิดขึ้นจากความตั้งใจและต้องการให้เป็นโครงการต้นแบบเพื่อให้หน่วยงานภาครัฐ เอกชน 
และสถาบันต่างๆ ได้มาเรียนรู้และศึกษา เพื่อนำไปประยุกต์ปรับใช้ให้เหมาะกับอาคารและสถานที่
ของตนเอง โดยนักวิชาการ อาจารย์ และบุคลากร มีความยินดีที่จะถ่ายทอดและแบ่งปันองค์ความรู้
ดังกล่าวให้แก่ผู้ที่สนใจอย่างเต็มที่สยามกรีนสกาย เกิดขึ้นจากความร่วมมือของภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ สำนักวิชาทรัพยากรการเกษตร ภาควิชาภูมิสถาปัตยกรรมคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ และสำนักงานจัดการทรัพย์สิน จุฬาฯ ที่ร่วมกันบริหารจัดการและก่อสร้างบนหลังคาของสยามสแควร์
วัน ขนาด 2,000 ตารางเมตรภายใต้งบประมาณที่มีประสิทธิภาพสูงสุด ด้วยต้นทุนเพียง 3,500 บาทต่อตารางเมตรเท่านั้น 




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น